วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

การให้บริการจุลสารและกฤตภาค

จุลสาร
  • เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก อาจจะเป็นแผ่นพับให้ความรู้เพียงเรื่องเดียว
  • ข้อมูลที่ทันสมัยทางห้องสมุดจะจัดบริการคือรับจุลสารเข้าแฟ้ม
  • กำหนดหัวเรื่องแฟ้มจุลสาร
  • นำแฟ้มจุลสารที่มีหัวเรื่องเดียวกับกฤตภาค ไว้ในตู้เหล็กเดียวกัน
  • ทางห้องสมุดลงข้อมูลทั้งหมดในโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อสืบค้นต่อไป

กฤตภาค  
  • ทางห้องสมุดตัดบทความจากหนังสือพิมพ์ วารสารล่วงเวลา มาทำกฤตภาค
  • ทางห้องสมุดกำหนดให้หัวเรื่อง
  • หัวเรื่องเดียวกันไว้ในแฟ้มเดียวกัน
  • นำแฟ้มกฤตภาคใส่ไว้ในตู้เหล็ก
  • เรียงแฟ้มตามลำดับตัวอักษรหัวเรื่องหน้าลิ้นชักจะเขียนตัวอักษรกำกับไว้

บรรณานุกรม

Hackken. (14 กรกฎาคม 2551). จุลสาร หรือ อนุสาร (Booklet หรือ Pamphlet). สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2015 จาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hackken&month=14-07-2008&group=5&gblog=4
วรรธนา บัวแก้ว. (ม.ป.ป.). การดำเนินงานห้องสมุดเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2015 จาก http://www.kr.ac.th/ebook/vantana/b9.html
อารียา เวชกามา. (18 พฤศจิกายน 25544). จุลสารและกฤตภาค . สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2558 จาก http://aprila-summery.blogspot.com/2011/11/blog-post_18.html


การประยุกต์ใช้จุลสารและกฤตภาค
















ประโยชน์ของจุลสารและกฤตภาค

จุลสารมีประโยชน์เพื่อช่วยเสริมความรู้ที่นอกเหนือไปจากตำราเป็นความรู้ใหม่ที่เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เช่น โรคไข้เลือดออก ฯลฯ จุลสารจะถูกเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารเฉพาะเรื่องเก็บไว้ในตู้  สามารถค้นหาโดยใช้บัตรช่วยค้นจุลสาร

            ส่วนกฤตภาคนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการอ่าน เสริมประสบการณ์ มีหลายรูปแบบ   ขึ้นอยู่กับวิธีการและกระบวนการของผู้นำไปใช้  เช่น  จัดนิทรรศการ    จัดเกมฝึกความคิด  เชาวน์ปัญญา  จัดกิจกรรมแข่งขันตอบปัญหาทักษะรายวิชาต่างๆหรือนำไปใช้เป็นสื่อการสอนในชั้นเรียนซึ่งใช้ได้ทุกกลุ่มสาระ ฯลฯ 

ความสำคัญของจุลสารและกฤตภาค

     จุลสาร ส่วนใหญ่เป็นการจัดทำโดยหน่วยงานราชการ องค์กร สถาบันต่างๆ เพื่อเผยแพร่เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินงานของหน่วยงานนั้นๆ พิมพ์แจกแก่บุคคลที่สนใจ สิ่งพิมพ์ลักษณะออกเป็นคราวๆ ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน 
     ส่วนกฤตภาค เป็นวัสดุที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเอง เพื่อประโยชน์สำหรับใช้เป็นเอกสารค้นคว้าอ้างอิง วิธีการจัดทำกฤตภาค ไม่ยุ่งยาก โดยการตัดเรื่องราว หรือข้อความ จากวารสารและหนังสือพิมพ์ ติดลงบนกระดาษ บอกแหล่งที่มาให้หัวเรื่อง เก็บใส่แฟ้มตามตัวอักษร ก - ฮ เรียงใส่ตู้กฤตภาค 




การจัดเก็บจุลสารและกฤตภาค


                
     การจัดเก็บจุลสารและกฤตภาค ห้องสมุดส่วนใหญ่ที่นิยมเก็บไว้ในแฟ้มแขวน แล้วทำการให้หัวเรื่อง โดยแขวนเรียงตามลำดับตัวอักษรของหัวเรื่อง จุลสารและกฤตภาคที่มีหัวเรื่องเหมือนกัน จะเก็บใส่แฟ้มเดียวกัน แต่บางแห่งอาจจะแยกเก็บระหว่างจุลสารและกฤตภาค เช่น จัดเก็บจุลสารใส่กล่อง ส่วนกฤตภาคก็ใส่แฟ้มแขวนต่างหาก หรือห้องสมุดที่มีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็จะทำการจัดเก็บในระบบฐานหรือห้องสมุดที่มีความพร้อมในด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ก็จะทำการจัดเก็บในระบบฐานข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

 

ประเภทเนื้อหาจุลสารและกฤตภาค



     การคัดเลือกเนื้อหาของจุลสารและกฤตภาค มีดังนี้ 

1. บทความที่มีคุณค่าทางวิชาการ 

     ตัวอย่าง  จุลสารวิชาการ


 




                   

     ตัวอย่าง  กฤตถาควิชาการ


2. บทความสารคดี 

     ตัวอย่าง  จุลสารสารคดี


3. ชีวประวัติบุคคลสำคัญ

ตัวอย่าง  จุลภาคชีวประวัติบุคคลสำคัญ

ความหมายของจุลสารและกฤตภาค

      

ความหมายของจุลสารและกฤตภาค 


     จุลสาร (Pamphlet) หมายถึง สิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว และจบบริบูรณ์ภายในเล่ม ความยาวไม่มากนัก เขียนอย่างง่ายๆส่วนมากแล้วเนื้อหาจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจในช่วงระยะเวลา หนึ่ง โดยจะให้ข้อมูลที่ทันสมัยรูปแบบ ลักษณะของจุลสารคือ มีความหนาอย่างน้อย 5 หน้า แต่ไม่เกิน 48 หน้า รูปเล่มไม่แข็งแรง อาจเป็นแผ่นกระดาษพับไปมา เพื่อสะดวกในการถือ หรืออาจเป็นสิ่งพิมพ์ที่เย็บเล่มแต่ใช้ปกอ่อน เป็นเล่มบางๆ จุลสารและอนุสาร มักเป็นการจัดทำโดยหน่วยงานราชการ องค์การ สถาบันต่างๆเพื่อเผยแพร่เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินงานของหน่วยงานนั้นๆพิมพ์แจกแก่บุคคลที่สนใจ สิ่งพิมพ์ลักษณะนออกมาเป็นคราวๆ ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน         




     กฤตภาค (Clipping) คือ ข้อความต่างๆ ที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ วารสาร และสิ่งตีพิมพ์ อื่นๆ แล้วนำมาผนึกบนกระดาษ และให้หัวเรื่อง รวมจัดเข้าแฟ้ม โดยจัดเรียงไว้ในแฟ้มกฤตภาคในตู้กฤตภาคตามลำดับตัวอักษรของหัวเรื่อง เรื่องที่นำมาทำกฤตภาคคือ เรื่องราวทุกสาขาวิชาที่น่าสนใจศึกษาค้นคว้า เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับประเทศหรือสถานที่สำคัญต่างๆ ชีวประวัติบุคคล การเมืองและการปกครอง สุขภาพอนามัย เรื่องราวและภาพประกอบต่างๆ ที่ค้นหาได้ยากจากหนังสือ ภาพและเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นหรือสถาบันที่ห้องสมุดนั้นสังกัดอยู่ เป็นต้น